ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 21 เมษายน 2025
หากคุณกำลังสนใจลงทุนตลาดหุ้นอยู่ล่ะก็ ควรทำความรู้จัก ดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 Index) กันไว้เป็นหนึ่งในตัวเลือก เพราะนอกจากที่ ดัชนี S&P 500 จะรวมหุ้นไว้กว่า 80% มูลค่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งหมด ยังมีการรวมเข้าด้วยกันกับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ ดัชนี S&P 500 สิ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้ รวมถึงรายชื่อหุ้น 10 อันดับ ที่คุณไม่ควรพลาดปี 2025
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 Index) คือ ดัชนีหุ้น ที่ประกอบด้วย 500 บริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลักๆ มากมาย เช่น เทคโนโลยี, การเงิน, สุขภาพ และอื่นๆ อีกมากมาย
การลงทุนใน S&P 500 ช่วยกระจายความเสี่ยง เพราะมีหุ้นจากหลากหลายอุตสาหกรรม ช่วยลดความเสี่ยงการลงทุนในบริษัทเดียว
ผลตอบแทนเฉลี่ยของ ดัชนี S&P 500 โดยประมาณ คือ 10% ต่อปี ถือเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการลงทุนระยะยาว
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 คือ ดัชนีหุ้นสหรัฐ ที่มีหุ้นขนาดใหญ่อยู่กว่า 500 ตัว ที่รวมมาจากบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหุ้น Nasdaq และ ตลาดหุ้น NYSE แต่ละหุ้นจะต้องผ่านเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกบริษัทก่อนที่จะนำเข้ามารวมในดัชนีนี้ เช่น มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด, สภาพคล่องในการซื้อขาย และสัดส่วนการลงทุนรายย่อย นี่จึงทำให้ดัชนี S&P 500 เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพตลาดหุ้นขออเมริกาได้อย่างแม่นยำ
ดัชนี S&P 500 ประกอบด้วยหุ้นจากบริษัทขนาดใหญ่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมีการกระจายความเสี่ยงไปแต่ละอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สำคัญของเศรษฐกิจ มีการแบ่งหุ้นเข้าไปในดัชนี S&P 500 ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 11 ภาคธุรกิจดังนี้:
ประเภทเทคโนโลยี (Information Technology): อุตสาหรรมนี้ประกอบไปด้วยบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และการบริการไอที ตัวอย่างเช่น Apple, Microsoft และ Nvidia
ประเภทสุขภาพ (Health Care): อุตสาหกรรมสุขภาพรวมถึง บริษัทที่ดำเนินกิจการ ทั้งในด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพ เช่น การผลิตยา, อุปกรณ์ทางการแพทย์, และประกันสุขภาพ ตัวอย่างเช่น Johnson & Johnson และ UnitedHealth Group
ประเภทการเงิน (Financials): อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการเงินประกอบด้วย ธนาคาร, บริษัทประกัน และบริษัทด้านบริการทางการเงินอื่นๆ เช่น JPMorgan Chase, Bank of America และ Berkshire Hathaway
กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่จำเป็น (Consumer Discretionary): อุตสาหกรรมที่ประกอบไปด้วย บริษัทที่จำหน่ายสินค้า หรือ บริการ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การท่องเที่ยว, ยานยนต์, สินค้าฟุ่มเฟือย ตัวอย่างเช่น Tesla และ Amazon เป็นต้น
กลุ่มผู้บริโภคที่จำเป็น (Consumer Staples): เป็นประเภทกลุ่มบริษัทที่ผลิต หรือจำหน่ายสินค้า ที่คนต้องการใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น อาหาร, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ตัวอย่างเช่น Procter & Gamble และ Coca-Cola
อุตสาหกรรมพลังงาน (Energy): บริษัทที่ดำเนินการด้านการผลิต และการจัดจำหน่ายพลังงาน เช่น น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ExxonMobil และ Chevron เป็นต้น
อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate): เป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วย บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น Simon Property Group และ Prologis เป็นต้น
อุตสาหกรรม (Industrials): หากพูดถึงกลุ่มภาคอุตสาหกรรม ก็จะรวมไปถึงบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและการจัดส่งสินค้า และบริการในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การขนส่ง, อุปกรณ์ทางการเกษตร และ การผลิตเครื่องจักร ตัวอย่างเช่น Boeing และ Caterpillar เป็นต้น
การสื่อสาร (Communication Services): ประกอบไปด้วยบริษัทที่ให้บริการ การสื่อสาร และสื่อสารมวลชน เช่น การออกอากาศ, สื่อออนไลน์ และการสื่อสารผ่านโทรคมนาคม ตัวอย่างเช่น Alphabet (Google) และ Meta (Facebook) เป็นต้น
สินค้าวัสดุ (Materials): กลุ่มวัสดุรวมถึงบริษัทที่ผลิตสินค้า ทางเคมี, โลหะ และวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Dow Inc., DuPont
อุตสากรรมสาธารณูปโภค (Utilities): เป็นกลุ่มบริษัทที่ให้บริการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า, น้ำประปา, ก๊าซ ตัวอย่างเช่น NextEra Energy และ Duke Energy เป็นต้น
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 Index) เป็นภาพสะท้อนให้เห็นภาพรวมของตลาดหุ้นและเศรฐกิจตลาดสหรัฐฯ ได้เป็นอย่างดี การพิจารณาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจที่สามารถสะท้อนผ่านการเคลื่อนไหวดัชนีได้แม่นยำ ซึ่งดัชนี S&P 500 รวมบริษัทที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยี, กลุ่มการบริการทางการเงิน, อุตสาหกรรมการบริโภค, อุตสาหกรรมสุขภาพ และ อุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น
ดัชนี S&P 500 ครอบคลุม 80% ของมูลค่าตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้ดัชนีนี้ เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นภาพรวมการเคลื่อนไหวของดัชนี สามารถสะท้อนถึงแนวโน้ม และ การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศได้
เนื่องจากดัชนี S&P 500 มีหุ้นจากหลากหลายอุตสาหกรรม การลงทุนในดัชนีนี้ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องพึ่งพาผลลัพธ์การดำเนินงาน จากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
ดัชนี S&P 500 มักถูกใช้เป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพการลงทุนของนักลงทุนและกองทุน ซึ่งนักลงทุนจะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของพอร์ตการลงทุนกับดัชนีนี้ เพื่อประเมินผลตอบแทน
ดัชนี S&P 500 มีผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวที่ดี ซึ่งนักลงทุนสามารถได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 10% ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นนี้ เป็นตัวเลือกที่นิยมสำหรับการลงทุนระยะยาว
ประเทศสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจทรงอิทธิพลสูงที่สุดในโลก การเคลื่อนไหวของดัชนี S&P 500 มีผลต่อความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั่วโลก อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
วิธีการทำงานของดัชนีตัวนี้ เริ่มต้นจากการคำนวณ ดัชนี S&P 500 จากราคาหุ้นของบริษัทใหญ่ ทั้งหมดจำนวน 500 แห่ง ที่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างรอบคอบจากหลากหลายอุตสาหกรรม การคำนวณดัชนีจะใช้วิธี "การถ่วงน้ำหนักจากมูลค่าหลักทรัพย์ " ซึ่งหมายความว่า บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์สูง ก็จะมีผลกระทบต่อตัวดัชนีมากกว่า บริษัทที่มีขนาดเล็ก
บริษัทที่อยู่ในดัชนี S&P 500 จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น มูลค่าหลักทรัพย์ จะต้องไม่น้อยกว่า 14.6 พันล้านดอลลาร์ และบริษัทต้อง จำเป็นต้องมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลักในประเทศสหรัฐฯ เช่น NYSE, NASDAQ หรือ Cboe เป็นต้น
หลังจากที่บริษัทถูกคัดเลือกเข้ามาในกลุ่มดัชนี มูลค่าหลักทรัพย์ (Market Cap) ของแต่ละบริษัทก็จะถูกนำมาคำนวณ ซึ่งบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์สูง อย่าง Apple และ Microsoft ก็จะมีอิทธิพลมากกว่าบริษัทขนาดเล็กในกลุ่มดัชนี
ดัชนี S&P 500 จะมีการปรับปรุงทุกปี บริษัทที่ไม่สามารถรักษามูลค่าหลักทรัพย์ หรือประสิทธิภาพทางการเงินที่ดี ก็อาจจะถูกแทนที่ด้วยบริษัทใหม่ที่มีการเติบโตที่ดีกว่า
การเคลื่อนไหวของดัชนี S&P 500 จะสะท้อนถึงแนวโน้มของตลาดหุ้นภาพรวม ถ้าดัชนีเพิ่มขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นกำลังเติบโต ในทางกลับกัน หากดัชนีลดลง ก็อาจเป็นสัญญาณว่า ตลาดกำลังเผชิญกับปัญหาหรือความไม่แน่นอน
อันดับ
บริษัท
สัญลักษณ์
หมวดหมู่
เกี่ยวกับอุตสาหกรรม
ประมาณสัดส่วนในดัชนี (%)
1
Apple
AAPL
เทคโนโลยี
Apple ก็ยังคงเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอยู่ เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีความนิยมและมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ส่งผลให้ผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว
7.3%
2
Microsoft
MSFT
Microsoft เป็นอีกตลาดเทคโนโลยี ที่ครองตลาดคอมพิวเตอร์และบริการคลาวด์ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจากการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ และ ซอฟต์แวร์อื่นๆ
6.7%
3
Nvidia
NVDA
Nvidia เป็นผู้นำตลาดกราฟิกและการประมวลผลด้วย AI มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญและเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้อีกมากมาย
3.2%
4
Tesla
TSLA
พลังงาน/ยานยนต์
Tesla เป็นผู้นำตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ยังมีนวัตกรรมระบบพลังงานสะอาด สามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
2.5%
5
Johnson & Johnson
JNJ
สุขภาพ
Johnson & Johnson เป็นบริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมสุขภาพที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่ยารักษาโรคจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ
2.3%
6
Alphabet (Google)
GOOGL
Alphabet มีความแข็งแกร่งจากกลุ่มธุรกิจโฆษณาออนไลน์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น YouTube, Google Cloud และ AI สามารถขยายฐานลูกค้าและมีโอกาสเติบโตอนาคต
4.2%
7
Berkshire Hathaway
BRK.B
การเงิน
Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุน มีประวัติการเติบโตในระยะยาว
1.5%
8
Visa
V
Visa เป็นผู้นำตลาดการชำระเงินดิจิทัล มีการเติบโตจากการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และมีการขยายตัวในตลาดต่างประเทศ
2.1%
9
Procter & Gamble
PG
บริโภค
Procter & Gamble เป็นผู้นำในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่มีการเติบโตมั่นคงและกระจายสินค้าไปทั่วโลก
1.7%
10
UnitedHealth Group
UNH
UnitedHealth Group มีการเติบโตจากธุรกิจสุขภาพและประกันสุขภาพ และสร้างโอการเติบโตในตลาดบริการสุขภาพปัจจุบัน
1.9%
นักลงทุนมือใหม่หลายคนก็อาจจะเคยได้ยิน ETF กันมาบ้างแล้ว ซึ่งความแตกต่างระหว่าง ETF ที่ติดตาม S&P 500 และ ดัชนี S&P 500 ก็มีการทำงานที่แตกต่างกัน คุณควรทำความเข้าใจกันก่อนที่จะเข้าลงทุน เพื่อจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาอ่านต่อเลย
ดัชนี S&P 500: ไม่สามารถซื้อดัชนีได้โดยตรง เป็นเพียงเครื่องมือทางสถิติ
ETF S&P 500: สามารถซื้อขาย ETF ได้ เช่นเดียวกันกับการเทรดหุ้นทั่วไป
ดัชนี S&P 500: บ่งชี้การเคลื่อนไหวภาพรวมตลาด
ETF S&P 500: เป็นการกระจายความเสี่ยง ไม่ต้องเลือกหุ้นเอง
ดัชนี S&P 500: ไม่มีค่าธรรมเนียม
ETF S&P 500: มักจะมีค่าธรรมเนียม
ดัชนี S&P 500: แสดงผลการดำเนินงานของตลาด แสดงข้อมูลทางสถิติ
ETF S&P 500: มีผลการดำเนินงานที่สะท้อนผลลัพธ์ดัชนี S&P 500 มีการจ่ายปันผล
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 Index) คือ ดัชนีหุ้น ที่รวมบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ 500 แห่งจากหลากหลายอุตสาหกรรม นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนหุ้นได้ทีละตัวตามต้องการ เพื่อกระจายความเสี่ยง สามารถตรวจสอบ รายชื่อหุ้น 10 อันดับ ที่คุณห้ามพลาด ปี 2025 ที่ทางเราได้อัพเดตมาให้กับคุณ ทั้งนี้แล้วก็ควรตรวจสอบความผันผวนของตลาด และ ผลตอบแทนจากการลงทุน กันก่อน หากคุณกำลังวางแผนการลงทุนระยะยาว ก็ควรทำความเข้าใจกับ การบริหารความเสี่ยง ด้วยเช่นกัน
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
ผลตอบแทนเฉลี่ยของดัชนี S&P 500 อยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี ของการลงทุนระยะยาว ตั้งแต่ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดแต่ละปี
กองทุน S&P 500 ที่เราแนะนำ ได้แก่ SPDR S&P 500 ETF (SPY), Vanguard S&P 500 ETF (VOO) และ iShares Core S&P 500 ETF (IVV) จากการวิเคราะห์ดัชนีหุ้น ปี 2567
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 Index) ชื่อเต็มคือ Standard & Poor’s 500 Index
ดัชนี SET 500 คือ ดัชนีที่รวม 500 หุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเอาไว้
SCB S&P 500 ETF จะจ่ายปันผลประมาณ 1.5% - 2% ต่อปี ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานดัชนีในแต่ละปี
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง