Logo
หน้าหลัก  >  บทความ  >  แพทเทิร์นรูปแบบธงสามเหลี่ยม

ฟอเร็กซ์

รูปแบบธงสามเหลี่ยม: ความหมาย ประเภท และกลยุทธ์

เขียนโดย XS Editorial Team

อัปเดตแล้ว 20 กันยายน 2024

แพทเทิร์นรูปแบบธงสามเหลี่ยม
สารบัญ

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบกราฟวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เทรดเดอร์ใช้ในการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

    บทความนี้จะครอบคลุมทุกสิ่งเกี่ยวกับรูปแบบธงสามเหลี่ยม รวมถึงการก่อตัว ประเภท และวิธีการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ

    สาระสำคัญ

    • รูปแบบธงสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบกราฟต่อเนื่องที่ปรากฏหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่สำคัญและการรวมตัวสั้น ๆ ก่อตัวเป็นสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดเล็ก

    • รูปแบบธงสามเหลี่ยมสามารถเป็นขาขึ้น (ต่อเนื่องขาขึ้น) หรือขาลง (ต่อเนื่องขาลง) โดยเริ่มจากการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรง การรวมตัว และทะลุแนวต้านเพื่อกลับมาดำเนินต่อ

    • การเทรดด้วยรูปแบบธงสามเหลี่ยมให้รอการทะลุแนวต้านและการยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขาย และใช้คำสั่งหยุดขาดทุนซึ่งจะช่วยเพิ่มกลยุทธ์โดยใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมคืออะไร?

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบกราฟต่อเนื่องที่เทรดเดอร์ใช้ในการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

    โดยปกติจะปรากฏหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่สำคัญ ทั้งขาขึ้นหรือขาลง ตามมาด้วยช่วงเวลาการพักชะลอตัวสั้น ๆ ก่อนที่แนวโน้มจะกลับมาดำเนินต่อในทิศทางเดิม

    รูปแบบนี้ดูเหมือนสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากเส้นแนวโน้มที่มาบรรจบกันในช่วงกาพักชะลอตัว

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมเป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์เพราะมีจุดเข้าและออกที่ชัดเจน

    ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของสัญญาณหลอกและปรับการเทรดให้สอดคล้องกับแนวโน้มหลัก

    pennant-pattern-candle-structure

    การก่อตัวของรูปแบบธงสามเหลี่ยม

    การก่อตัวของรูปแบบธงสามเหลี่ยมประกอบด้วยหลายขั้นตอนสำคัญโดยแต่ละขั้นตอนมีบทบาทสำคัญในการสร้างรูปแบบกราฟต่อเนื่องนี้

    เสาธง

    การก่อตัวของรูปแบบธงสามเหลี่ยมเริ่มต้นด้วยเสาธงซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรงในขั้นต้น

    การเคลื่อนไหวนี้อาจเป็นราคาอาจพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว (สำหรัธงสามเหลี่ยมขาขึ้น) หรือการลดลงอย่างรวดเร็ว (สำหรับธงขาลง) เสาธงกำหนดทิศทางของแนวโน้ม

    แนวต้านและแนวรับ

    หลังจากสร้างเสาธงแล้วและตลาดเข้าสู่ช่วงการพักชะลอตัว ซึ่งราคาจะเคลื่อนไปด้านไซต์เวย์

    ในช่วงนี้จะเกิดเส้นแนวโน้มที่สำคัญ 2 เส้น:

    • แนวต้าน: เส้นแนวโน้มด้านบนเชื่อมต่อกับจุดสูงสุดในช่วงการพักชะลอตัว ซัพพอร์ตป้องกันขาลงต่อเนื่อง

    • แนวรับ: เส้นแนวโน้มด้านล่างเชื่อมต่อกับจุดต่ำสุดในช่วงการพักชะลอตัว แสดงถึงระดับราคาที่แรงซื้อหยุดการเคลื่อนที่ลง
      เส้นแนวโน้มเหล่านี้จะบรรจบกัน ทำให้รูปธงสามเหลี่ยมมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมสมมาตร

    การทะลุแนว

    ขั้นตอนสุดท้ายของรูปแบบธงสามเหลี่ยมคือการทะลุแนว

    เกิดขึ้นเมื่อราคาทะลุออกไปเหนือเส้นแนวต้านหรือแนวรับอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงถึงการสิ้นสุดของช่วงการพักชะลอตัวและการกลับมาของแนวโน้มก่อนหน้า

    ในรูปแบบธงสามเหลี่ยมขาขึ้น การทะลุแนวเกิดขึ้นเหนือเส้นแนวต้าน แสดงว่าฝั่งซื้อกลับมาควบคุมและแนวโน้มขาขึ้นยังคงดำเนินต่อไป

    ในรูปแบบธงสามเหลี่ยมขาลง การทะลุแนวเกิดขึ้นใต้เส้นแนวรับ แสดงว่าฝั่งขายกลับมาควบคุมและแนวโน้มขาลงยังคงดำเนินต่อไป

    ประเภทของรูปแบบธงสามเหลี่ยม

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมมี 2 ประเภท: รูปแบบธงขาขึ้น (กระทิง) และรูปแบบธงขาลง (หมี)

    รูปแบบธงขาขึ้น(ธงกระทิง)

    รูปแบบธงขาขึ้นจะปรากฏหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

    รูปแบบนี้บ่งบอกว่าแนวโน้มขาขึ้นเดิมจะดำเนินต่อไปหลังจากช่วงการพักชะลอตัวในช่วงระยะสั้น ๆ

    bull-pennant

    รายละเอียดของรูปแบบธงขาขึ้น (ธงกระทิง) :

    1. เสาธง: รูปแบบเริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหวของราคาที่สูงขึ้นอย่างมาก มักเกิดจากข่าวเชิงบวก ความสนใจในการซื้อที่เพิ่มขึ้น หรือแรงผลักดันของตลาด

    2. ช่วงการพักชะลอตัว: หลังจากราคาก่อเป็นเสาธงราคาจะเข้าสู่ช่วงการพักชะลอตัว โดยซื้อขายในช่วงที่แคบลง ราคาเกิดจุดสูงต่ำและต่ำสูงตามลำดับโดยที่เส้นแนวโน้มบนทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ในขณะที่ส่วนของเส้นแนวโน้มล่างเป็นแนวรับ

    3. การทะลุแนว: รูปแบบธงขาขึ้นจะเสร็จสิ้นเมื่อราคาทะลุแนวต้านซึ่งแสดงถึงการสิ้นสุดช่วงการพักชะลอตัวและการเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้นต่อไป

    รูปแบบธงขาลง (ธงหมี)

    รูปแบบธงขาลงมักจะเกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งบ่งชี้ว่าการลดลงในช่วงแรกจะมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปหลังจากการพักชะลอตัวในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

    bear-pennant

    รายละเอียดของธงขาลง

    1. เสาธง: รูปแบบเริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลงอย่างมาก มักเกิดจากข่าวในเชิงลบ ความกดดันในการขายที่เพิ่มขึ้น หรือความเชื่อมั่นในตลาดที่อ่อนแอ

    2. ช่วงการพักชะลอตัว: หลังจากก่อตัวเป็นเสาธงราคาเข้าสู่ช่วงการพักชะลอตัว โดยซื้อขายในช่วงที่แคบลง ระหว่างนี้ราคาเกิดจุดต่ำสูงและสูงต่ำเส้นแนวโน้มบนทำหน้าที่เป็นแนวต้านและเส้นแนวโน้มล่างทำหน้าที่เป็นแนวรับ

    3. การทะลุกแนว: รูปแบบธงสามเหลี่ยมขาลงจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อราคาทะลุแนวรับ ซึ่งบ่งบอกถึงการสิ้นสุดช่วงการพักชะลอตัวและการเคลื่อนไหวเป็นขาลงต่อไป

    การระบุรูปแบบธง

    การระบุรูปแบบธงเกี่ยวข้องกับการรู้จักองค์ประกอบสำคัญหลายประการที่บ่งชี้ถึงการก่อตัวของรูปแบบกราฟนี้ ซึ่งมีจุดสำคัญดังนี้:

    • เสาธง:
      • มองหาการเคลื่อนไหวของราคาที่สำคัญที่สร้างทิศทางแนวโน้มเริ่มต้น

      • การเคลื่อนไหวนี้อาจเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นฐานของรูปแบบธง

    • ช่วงการพักชะลอตัว:

      • ในช่วงนี้การเคลื่อนไหวของราคาเริ่มช้าลงและเริ่มเคลื่อนไหวภายในช่วงที่แคบลง

      • ช่วงนี้จะมีเส้นแนวโน้มที่บีบเข้าหากัน ซึ่งสร้างรูปทรงของรูปแบบธงที่เป็นรูปสามเหลี่ยมสมมาตร

    • เส้นแนวต้าน:

      • ระบุเส้นแนวโน้มด้านบนที่เกิดจากการเชื่อมต่อจุดสูงในช่วงการพักชะลอตัว

      • เส้นนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านซึ่งป้องกันไม่ให้ราคานั้นขยับสูงขึ้น

    • เส้นแนวรับ

      • ระบุเส้นแนวโน้มด้านล่างที่เกิดจากการเชื่อมต่อจุดต่ำในช่วงการพักชะลอตัว

      • เส้นนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับซึ่งป้องกันไม่ให้ราคาเคลื่อนตัวต่ำลง

    • จุดทะลุแนว :

      • รูปแบบจะสมบูรณ์เมื่อเกิดแนวทะลุ ซึ่งราคาจะเคลื่อนที่ออกไปเกินเส้นแนวต้าน (ในรูปแบบธงที่เป็นขาขึ้น) หรือเส้นแนวรับ (ในรูปแบบธงที่เป็นขาลง)

      • การทะลุแนวส่งสัญญาณถึงสิ้นสุดในช่วงการพักชะลอตัวและความต่อเนื่องของแนวโน้มก่อนหน้า

    • รูปทรงสามเหลี่ยมสมมาตร :

      • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่วงการพักชะลอตัวสร้างรูปทรงสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดเล็กที่มีเส้นแนวโน้มบีบเข้าหากัน

      • รูปทรงนี้ช่วยแยกแยะรูปแบบธงออกจากรูปแบบการเทรนด์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น ธงและสามเหลี่ยมสมมาตร

    รูปแบบธง VS. รูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตร

    รูปสามเหลี่ยมสมมาตร(Symmetrical Triangles) และรูปแบบธง (Pennant Patterns) อาจดูคล้ายกันแต่บริบทของพวกมันแตกต่างกัน

    รูปสามเหลี่ยมสมมาตรสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในรูปแบบการต่อเนื่องและการกลับตัว และโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่นานกว่า

    แต่ในทางกลับกันรูปแบบธงจะเป็นรูปแบบการต่อเนื่องโดยเฉพาะซึ่งตามหลังการเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วและช่วงการพักชะลอตัวในช่วงสั้นๆนี้

    รูปแบบธงสามเหลี่ยม VS. รูปแบบธง

    แม้ว่ารูปแบบธงสามเหลี่ยมและรูปแบบธงจะเป็นรูปแบบการต่อเนื่องเหมือนกันแต่พวกมันมีลักษณะที่แตกต่างกัน

    รูปแบบธงสัญญาณจะมีเส้นแนวโน้มขนานกันในช่วงการพักชะลอตัว ซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เอียงตรงข้ามกับแนวโน้มที่มีอยู่

    ในทางกลับกันรูปแบบธงสามเหลี่ยมจะมีเส้นแนวโน้มที่บีบเข้าหากัน ซึ่งสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดเล็ก

    กลยุทธ์ในการซื้อขายรูปแบบธงสามเหลี่ยม

    นี่คือกลยุทธ์ที่ใช้ในการซื้อขายรูปแบบธงสามเหลี่ยม:

    1. กลยุทธ์การทะลุแนว : เข้าทำการซื้อขายเมื่อราคาทะลุออกจากรูปแบบธงสามเหลี่ยมสำหรับรูปแบบธงขาขึ้นให้ซื้อเมื่อราคาทะลุขึ้นเหนือเส้นแนวโน้มด้านบนสำหรับรูปแบบธงขาลง ให้ขายเมื่อราคาทะลุลงต่ำกว่าเส้นแนวโน้มด้านล่าง

    2. การยืนยันปริมาณการซื้อขาย: ใช้ปริมาณการซื้อขายเพื่อยืนยันการทะลุการทะลุที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจะเชื่อถือได้มากกว่า

    3. การจัดการความเสี่ยง : เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ให้ตั้งคำสั่งหยุดขาดทุน (stop-loss) ไว้ที่นอกเส้นแนวโน้มตรงข้ามของรูปแบบธงคำนวณป้าหมายการทำกำไรตามความสูงของเสาธง

    4. การรวมตัวบ่งชี้ : ปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณโดยการรวมรูปแบบธงกับอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวอื่นๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (moving averages) หรือดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ Relative Strength Index (RSI)

    บทสรุป

    รูปแบบธงสามเหลี่ยม (Pennant Patterns) มอบวิธีที่เชื่อถือได้ในการคาดการณ์การดำเนินต่อของแนวโน้มรูปแบบเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาอย่างมีนัยสำคัญตามด้วยช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของการพักชะลอตัวภายในเส้นแนวโน้มที่บีบเข้าหากัน ซึ่งสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดเล็ก

    การทำความเข้าใจการก่อตัว ประเภท และกลยุทธ์ในการซื้อขายรูปแบบธงสามเหลี่ยมสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการซื้อขายของคุณและทำให้การตัดสินใจของคุณมีข้อมูลมากขึ้นเริ่มซื้อขายกับ XS ได้แล้ววันนี้!

    คำถามที่พบบ่อย

    วิธีที่ดีที่สุดในการซื้อขายรูปแบบธงคืออะไร?

    วิธีที่ดีที่สุดในการซื้อขายรูปแบบธงคือการรอแนวทะลุจากเส้นแนวโน้มที่บีบเข้าหากัน

    ให้เข้าทำการซื้อขายเมื่อราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้นแนวต้านในรูปแบบธงขาขึ้นหรือต่ำกว่าเส้นแนวรับในรูปแบบธงขาลง ใช้ปริมาณการซื้อขายเพื่อยืนยันแนวทะลุและตั้งคำสั่งหยุดขาดทุน (stop-loss) ไว้ที่นอกเส้นแนวโน้มตรงข้ามเพื่อจัดการความเสี่ยง

    จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากเกิดรูปแบบกราฟธงสามเหลี่ยม?

    หลังจากรูปแบบกราฟธงสามเหลี่ยมราคามักจะดำเนินต่อไปตามแนวโน้มเริ่มต้น

    การดำเนินต่อนี้ได้รับการยืนยันโดยแนวทะลุจากเส้นแนวโน้มที่บีบเข้าหากันของรูปแบบธง ซึ่งอาจเป็นการทะลุขึ้นในรูปแบบธงขาขึ้นหรือการทะลุลงในรูปแบบธงขาลง ปริมาณที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการทะลุจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของการดำเนินแนวโน้มต่อไป

    รูปแบบธงเชื่อถือได้แค่ไหน?

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมถือเป็นสัญญาณที่เชื่อถือได้ของการดำเนินแนวโน้มต่อไป โดยเฉพาะเมื่อมีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการทะลุ

    อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ มันไม่สามารถรับประกันความสำเร็จได้เสมอไปควรใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้อื่นๆ และกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

    รูปแบบธงเป็นขาขึ้นหรือขาลง?

    รูปแบบธงสามเหลี่ยมสามารถเป็นทั้งขาขึ้นและขาลง รูปแบบธงสามเหลี่ยมขาขึ้นจะเกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งบ่งชี้ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไป

    ในทางกลับกันรูปแบบธงสามเหลี่ยมขาลงจะเกิดขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลงอย่างสำคัญและบ่งชี้ว่าแนวโน้มจะมีแนวโน้มลดลงต่อไป


     

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top